กลอนสักวา
ผู้จัดทำคำนำแบบทดสอบก่อนเรียนมดง่ามกับจักจั่นคนตัดไม้กับเทวาชาวนากับงูเห่าไก่ได้พลอยลากับจิ้งหรีดแบบทดสอบหลังเรียน

กลอนสักวา

 

ลักษณะกลอนสักวา

ตัวอย่าง

กฎ

 

เสียงสัมผัสในกลอน 
กลอนเสภา 
กลอนดอกสร้อย 
กลอนสักวา 

 

คำว่าสักวา เขียนเป็นสักรวาก็มี
คำว่าสักวานี้ย่อมาจากสักวาทะ
 หรือสักวาทีซึ่งเป็นคำตรงกันข้าม
กับคำปรวาทะ หรือปรวาทีเพราะ
ในการเล่นสักวานั้นมีการโต้ตอบกัน
เป็นบทกลอน
การเล่นสักวาเป็นการเล่น
อย่างหนึ่งของชาวไทยมีมาแต่
สมัยอยุธยาเมื่อถึงฤดูน้ำมาก
ในเทศกาลทอดกฐิน   ทอดผ้าป่า
และเที่ยวทุ่ง  ในสมัยนั้นผู้มีบรรดา
ศักดิ์ตั้งแต่เจ้านายลงมาจะพา
บริวารซึ่งเป็นนักร้องทั้งต้นบท
และลูกคู่ มีโทน ทับ กรับ ฉิ่ง  
ลงเรื่อไปเที่ยวบางลำก็เป็นเรือชาย
 บางลำก็เป็นเรือหญิง เมื่อไป
พบปะประชุมกันในท้องทุ่งต่างฝ่ายก็คิดบทสักวาร้องโต้ตอบกันสักวา
นั้นต้องคิดเป็นกลอนสดโต้ให้ัทัน
กันผู้ชำนาญการประพันธ์เท่านั้น
จึงจะบอกบทสักวาได
้สักวานิยมเล่นกันมาจนถึงรัชกาล
ที่ ๕ กรุงรัตนโกสินทร์

(วิเชียร  เกษประทุม  ลักษณะคำประพันธ์ไทย )

สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน
ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม
กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพะยอม
อาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม
แม้นล้อลามหยามหยาบไม่ปลาบปลื้ม
ดังดูดดื่มบรเพ็ดต้องเข็ดขม
ผู้ดีไพร่ไม่ประกอบชอบอารมณ์
ใครฟังลมเมินหน้าระอาเอย

(พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทร์ไพศาลโสภณ)

๑. กลอนสักวาบทหนึ่งมี ๘ วรรค
    หรือ ๒ คำกลอน วรรคหนึ่งใช้คำ
    ตั้งแต่ ๖-๙ คำ ถ้าจะแต่งบทต่อไป
    ต้องขึ้นบทใหม่ ไม่ต้องมีสัมผัสเกี่ยว
     ข้องกับบทต้น
๒. กลอนสักวาต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า
     สักวาและลงท้ายด้วยคำว่าเอย
๓.สัมผัสและคงามไพเราะอื่นๆเหมือน
    กับกลอนสุภาพ
๔.วิธีเล่นสักวาในปัจจุบันผิดแผกไป
    จากเดิมเล็กน้อย  คือร้องบทไหว้คร
    ูด้วยเพลงพระทอง แบบโบราณ
    ให้เป็นตัวอย่างเพียงบทเดียวบท
     ต่อๆไปทั้งบทเชิญชวนและบทเรื่อง
     ร้องเพลง ๒ ชั้นธรรมดาทั้งนี้เพื่อ
     รักษาเวลาที่มีเพียงประมาณ
     ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น และเพิ่มรส
      ในการฟังเพลงโดยเพิ่มวงปี่พาทย์
      ไม้นวมสำหรับคลอเสียงด้วย
       การเล่นก็แสดงกันบนเวที
      มีกระดานดำ ๕ แผ่นเรียงกันด้าน
     หลัง มีคนเขียนกลอนสักวาตาม
     คำบอกแผ่นละคน ผู้บอกสักวานั่ง
     ประจำโต๊ะ คนละโต๊ะ อยู่หน้าเวที
     ใกล้กับคนร้องของตน แทนการ
     นั่งในเรือคนละลำอย่างโบราณ
 (วิเชียร  เกษประทุม  ลักษณะคำประพันธ์ไทย )

 

 

 

 

 

.จัดทำโดย ครูไอสุรีย  เรืองรัตน์มณี . และคณะ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

Copyright(c)2009 Mrs.Isuree Ruengratmanee.All rights reserved.